วิเคราะห์บทความ
การพัฒนาศิษต้องอาศัย4กระบวนการดังนี้คือ
ด้านความรู้ ความคิด หรือพุทธพิสัย (Cognitive Domain) เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด หรือพฤติกรรมทางด้านสมองของบุคคล ในอันที่ทำให้มีความเฉลียวฉลาด มีความสามารถในการคิดเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา การเรียนการสอนในปัจจุบันยังเน้นในด้านนี้มากพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย แบ่งได้เป็น 6 ระดับ ได้แก่
1.ความรู้ความจำ
2.ความเข้าใจ
3.การนำความรู้ไปใช้
4.การวิเคราะห์
5.การสังเคราะห์
6.การประเมินค่า
ด้านความรู้สึก อารมณ์ สังคมหรือด้านจิตพิสัย(Affective Domain)พฤติกรรมด้านจิตพิสัยนี้ จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ จากนั้นขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่าง ๆ จนกลายเป็นค่านิยม และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทางพฤติกรรมของคน คนจะรู้ดีรู้ชั่วอย่างไรนั้น ก็เป็นผลของพฤติกรรมด้านนี้
1.การตอบสนอง
2.การรับรู้
3.การเกิดค่านิยม
4.การจัดรวบรวม
5.สร้างลักษณะนิสัยตามค่านิยมที่ยึดถือ
ด้านทักษะปฏิบัติหรือทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)พฤติกรรมการเรียนรู้ที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญจะเกิดความชำนาญได้นั้นต้องอาศัย
1.การรับรู้
2.กระทำตามแบบหรือเครื่องชี้แนะ
3.การหาความถูกต้อง
4.การกระทำอย่างต่อเนื่อง
5.การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
ด้านทักษะการจัดการหรือทักษะกระบวนการ
1. ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
2. กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
3. กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
4. กระบวนการแก้ปัญหา
5. กระบวนการสร้างความตระหนัก
6. กระบวนการปฏิบัติ
7. กระบวนการคณิตศาสตร์
8. กระบวนการเรียนภาษา
9. กระบวนการกลุ่ม
10. กระบวนการสร้างเจตคติ
11. กระบวนการสร้างค่านิยม
12. กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ
ด้านความรู้ ความคิด หรือพุทธพิสัย (Cognitive Domain) เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด หรือพฤติกรรมทางด้านสมองของบุคคล ในอันที่ทำให้มีความเฉลียวฉลาด มีความสามารถในการคิดเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา การเรียนการสอนในปัจจุบันยังเน้นในด้านนี้มากพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย แบ่งได้เป็น 6 ระดับ ได้แก่
1.ความรู้ความจำ
2.ความเข้าใจ
3.การนำความรู้ไปใช้
4.การวิเคราะห์
5.การสังเคราะห์
6.การประเมินค่า
ด้านความรู้สึก อารมณ์ สังคมหรือด้านจิตพิสัย(Affective Domain)พฤติกรรมด้านจิตพิสัยนี้ จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ จากนั้นขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่าง ๆ จนกลายเป็นค่านิยม และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทางพฤติกรรมของคน คนจะรู้ดีรู้ชั่วอย่างไรนั้น ก็เป็นผลของพฤติกรรมด้านนี้
1.การตอบสนอง
2.การรับรู้
3.การเกิดค่านิยม
4.การจัดรวบรวม
5.สร้างลักษณะนิสัยตามค่านิยมที่ยึดถือ
ด้านทักษะปฏิบัติหรือทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)พฤติกรรมการเรียนรู้ที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญจะเกิดความชำนาญได้นั้นต้องอาศัย
1.การรับรู้
2.กระทำตามแบบหรือเครื่องชี้แนะ
3.การหาความถูกต้อง
4.การกระทำอย่างต่อเนื่อง
5.การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
ด้านทักษะการจัดการหรือทักษะกระบวนการ
1. ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
2. กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
3. กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
4. กระบวนการแก้ปัญหา
5. กระบวนการสร้างความตระหนัก
6. กระบวนการปฏิบัติ
7. กระบวนการคณิตศาสตร์
8. กระบวนการเรียนภาษา
9. กระบวนการกลุ่ม
10. กระบวนการสร้างเจตคติ
11. กระบวนการสร้างค่านิยม
12. กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ
สภาพปัจจุบันด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ในศตวรรษนี้เป็นศตวรรษที่21อุปกรณ์ในการเรียนส่วนมากจะเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศเพราะมีความทันสมัยและเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว
แต่ก็มีปัญหาที่ทำให้ประสิทธิภาพในการศึกษาลดน้อยลง เนื่องจากผู้เรียนบางคนสนใจในเทคโนโลยีจนไม่ฟังที่ผู้สอนอธิบาย
จึงทำให้ความสนใจไม่อยู่กับผู้สอนถ้าเป็นดังนี้ผู้สอนจึงต้องนำเทคโนโลยีมาประยุกต์กับการสอนเพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและพัฒนาครูได้อย่างรวดเร็ว
รวมทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูตลอดจนลดความไม่เท่าเทียมทางการศึกษาในโรงเรียนที่ห่างไกลอีกด้วย
ดังนั้นจึงมีการพัฒนาitเพื่อการศึกษาดังนี้ 1)
การจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เพื่อการเรียนการสอนของสถานศึกษา 2)
การพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน การบูรณาการโครงข่าย 3)
การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Contents)ในรูปแบบสื่อออนไลน์ผ่านเว็บไซต์
e-Book หรือApplications ต่างๆ
ครูไทยในอนาคต
สำหรับยุคแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารที่เต็มไปด้วยข้อมูลสารสนเทศหลากหลาย
ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีทักษะสำคัญสำหรับยุคนี้ที่เรียกว่าC-Teacher
ซึ่งได้แก่ Content: ผู้สอนต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องที่สอนเป็นอย่างดี
เพราะหากผู้สอนไม่เชี่ยวชาญในเรื่องที่สอนหรือถ่ายทอด
ก็ไม่สามารถทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้บรรลุเป้าหมาย Computer (ICT)
Integration: ผู้สอนต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน
เนื่องจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีจะช่วยกระตุ้นความสนใจให้แก่ผู้เรียน
ยิ่งถ้าได้ผ่านการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพจะยิ่งช่วยส่งเสริมทักษะที่ต้องการได้เป็นอย่างดี
Constructionist: ผู้สอนต้องเข้าใจแนวคิดที่ว่า
ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ขึ้นได้เองจากการเชื่อมโยงความรู้เดิมที่มีอยู่เข้ากับความรู้และประสบการณ์ใหม่
ๆ ที่ได้รับ และได้จากการลงมือปฏิบัติในกิจกรรมต่าง ๆ
โดยครูสามารถนำแนวคิดนี้ไปใช้ในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างความรู้และสร้างสรรค์ชิ้นงานต่าง
ๆ ผ่านการประยุกต์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากในชั้นเรียนและจากการศึกษาด้วยตนเอง
Connectivity: ผู้สอนต้องสามารถจัดกิจกรรมให้เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้สอนในสถานศึกษาเดียวกันหรือต่างสถานศึกษา
รวมถึงความเชื่อมโยงระหว่างสถานศึกษาและสถานศึกษากับชุมชนเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เป็นประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เรียน
Collaboration: ผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้แบบร่วมมือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
และระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เพื่อฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม การเรียนรู้ด้วยตนเอง
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสารสนเทศระหว่างกัน
ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะอาชีพและทักษะชีวิต Communication: ผู้สอนมีทักษะการสื่อสาร ทั้งการบรรยาย การยกตัวอย่าง การเลือกใช้สื่อ
การนำเสนอสื่อ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมนำไปสู่ความเข้าใจและสามารถเรียนรู้ได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
Creativity: ผู้สอนในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องสร้างสรรค์กิจกรรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย
แปลกใหม่จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด
ผู้สอนต้องเป็นมากกว่าผู้ถ่ายทอดความรู้โดยตรงเพียงอย่างเดียว Caring: ผู้สอนต้องมีมุทิตาจิตต่อผู้เรียน ต้องแสดงออกถึงความรัก
ความห่วงใยอย่างจริงใจต่อผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อใจส่งผลต่อการจัดสภาพการเรียนรู้ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
ซึ่งเป็นสภาพที่ผู้เรียนจะมีความสุขในการเรียนรู้และจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด
ปัญหาและอุปสรรคของครูไทย
จะมีปัญหาที่เป็นอุปสรรคของการทำหน้าที่ครูซึ่งได้แก่1)
ภาระงานอื่นนอกเหนือจากการสอน การทำหน้าที่อื่นนอกเหนือจากการสอน จะทำให้ครูมีเวลาเตรียมการสอนและมีสมาธิในการสอนน้อยลง
2) จำนวนครูไม่เพียงพอ สอนไม่ตรงกับวุฒิกำหนดอัตรากำลังที่ไม่เหมาะสมใช้อัตราส่วนของจำนวนนักเรียนต่อจำนวนครูเป็นเกณฑ์
โดยไม่คำนึงถึงจำนวนห้องเรียนนั้น 3) ขาดทักษะทางด้านไอซีที
โดยครูจำนวนมากยังขาดทักษะด้านนี้ จึงทำให้รับรู้ข้อมูล หรือมีแหล่งค้นคว้าข้อมูลน้อยกว่านักเรียน
4) ครูรุ่นใหม่ขาดความเชี่ยวชาญในการสอนทั้งทางวิชาการและคุณลักษณะความเป็นครู
ความเอาใจใส่ต่อเด็กลดลง ขาดประสบการณ์ ขณะที่ครูรุ่นเก่าไม่ปรับตัวเข้ากับยุคสมัย
5) ครูสอนหนักส่งผลให้เด็กเรียนมากขึ้น ผลการทดสอบระดับชาติที่ไม่เป็นที่น่าพอใจ ทำให้ครูแก้ปัญหาโดยยังคงยึดวิธีการสอนแบบเดิม
6) ขาดอิสระในการจัดการ ครูยังคงต้องปฏิบัติตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด
ซึ่งนโยบายเหล่านั้นไม่ได้ถูกต้องและดีเสมอไป
ปัจจัยที่ส่งเสริมการทำหน้าที่ครูให้เกิดประสิทธิภาพ
จะประกอบด้วย 1) การอบรม แลกเปลี่ยน และสร้างเครือข่ายความรู้ การพัฒนาตนเองด้านไอซีที
เพราะสภาพในปัจจุบันแวดล้อมไปด้วยเทคโนโลยีมากมาย 3)
การลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานฝ่ายต่างๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 4)
การสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ครู เช่น การปรับเลื่อนวิทยาฐานะ
โดยประเมินจากผลผลิตและผลลัพธ์จากกระบวนการเรียนการสอน 5)
การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของการศึกษาไทย
แนวทางความเป็นไปได้ในการพัฒนาครูในศตวรรษที่21คือการตั้งนโยบายการพัฒนาครูที่ชัดเจน ครอบคลุม และเป็นระบบจะส่งผลให้ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
การกำหนดมาตรฐานวิชาชีพและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ก็เป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้ครูมีการพัฒนาตนเองโดยเปลี่ยนแปลงทั้งทัศนคติ
วิธีสอน และบทบาท ทั้งยังส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสบการณ์ที่หลายหลาย
จนกลายเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนำมาปรับใช้ภายใต้บริบทของตนเอง
สรุปคือในศตวรรษที่ 21
ครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดมาเป็นผู้แนะนำหรือที่ปรึกษา ออกแบบระบบการสอนให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อสร้างองค์ความรู้จากภายใน
ส่งเสริมให้นักเรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองวัดและประเมินผลผู้เรียนด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลายและเหมาะสมกับวิธีการหรือรูปแบบการสอนส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกัน
มีความสามารถในการสื่อสารและถ่ายทอดความรู้ จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ในลักษณะเปิด
เพื่อส่งเสริมนักเรียนเกิดการตื่นตัวแบบผ่อน (Relaxed alertness) ซึ่งเป็นภาวะที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ นอกจากนี้ ปัญหาอุปสรรคต่างๆ
ที่ขัดขวางการประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูต้องได้รับการแก้ไขให้ถูกจุด
ครอบคลุม และเป็นระบบ แนวทางการพัฒนาครูต้องทำควบคู่กันไปทั้งด้านนโยบายที่มาสนับสนุน
และการพัฒนาตนเองของครูซึ่งต้องอาศัยความตระหนักและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
รวมถึงการเปิดใจรับสิ่งใหม่และการปรับตัวของครู เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความรู้ความสามารถของครู
รวมถึงใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี
ดังนั้น ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีของครูจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ครูจะละเลยไม่ได้